

อนุบาล
โรงเรียนพร้อมพรรณวิทยาออกแบบหลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียน โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยจะเน้นพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมในทุกด้านที่มีความสำคัญ และจะเป็นเพื้นฐานเพื่อต่อยอดไปสู่การศึกษาในระดับสูงขึ้นต่อไป

ทั้งนี้โรงเรียนได้ผสมผสานแนวคิดเรื่องทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ของดร. โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยเรื่องปัญญาอันหลากหลายของมนุษย์ และ การพัฒนาทักษะ EF เข้ามาเป็นส่วนสำคัญของหลักสูตรด้วย การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพหุปัญญาแต่ละด้าน ทำให้เด็กนักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้ และได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้มีโอกาสได้ค้นหาความสนใจ และความถนัดเฉพาะของแต่ละบุคคล โดยคุณครูจะช่วยสังเกตอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านที่นักเรียนถนัดและสนใจได้ต่อไป

นอกจากนี้โรงเรียนยังได้จัดสรรเวลาโดยเฉพาะสำหรับกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ EF ซึ่งคือกระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการชีวิตในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งการมีสมอง EF ที่ดีมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเอาตัวรอด และประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบัน
ทำไม EF จึงสำคัญ
EF หรือ Executive Functions คือ ความสามารถระดับสูงของสมองและจิตใจในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย หรือแปลเป็นภาษาง่าย ๆ คือ EF ทำให้คนเราสามารถควบคุมตัวเองให้ทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายนั่นเอง งานวิจัยพบว่าช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็กคือช่วงวัย 3 - 6 ปีเพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย

โรงเรียนเห็นความสำคัญของเรื่องสมอง EF นี้ จึงได้สร้างหลักสูตรปฐมวัยซึ่งเน้นการสร้างทักษะ EF ให้กับเด็ก ๆ ซึ่งไม่เพียงจะทำให้เด็กมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการต่อยอดการศึกษาในชั้นประถม แต่ยังเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เด็ก ๆ เติบโตขึ้นเป็นคนที่สามารถดูแลตัวเองได้ เอาตัวรอดได้ และมีอนาคตที่ดี
EF แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทักษะ กลุ่มทักษะละ 3 ด้าน รวมเป็น 3 * 3 = 9 ด้าน
ทักษะพื้นฐาน
1) ความจำเพื่อใช้งาน
คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลและดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ
2) ความยั้งคิด ไตร่ตรอง
คือ ความสามารถในการหยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูด โดยพิจจารณาถึงผลดีผลเสีย และควบคุมตนเองไม่ให้ทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมได้
3) ความคิดยืดหยุ่น
คือ มีความคิดที่ไม่ยึดติด ปรับเปลี่ยนได้ รับฟังความเห็นต่าง รู้จักพลิกแพลงและปรับตัว เป็นจุดเริ่มต้นของการมีความคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ
1) ความจดจ่อ ใส่ใจ
คือ การมีสมาธิ ตั้งใจทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่วอกแวก รู้จักการทำงานให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ
2) การควบคุมอารมณ์
คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ตนเองไม่ให้รบกวนผู้อื่น รู้จักแสดงอารมณ์อย่างถูกวิธี
3) ติดตาม ประเมินตนเอง
คือ การประเมินตนเองเพื่อหาจุดบกพร่องแล้วนำมาแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น
ทักษะปฎิบัติ
1) ริเริ่มและลงมือทำ
คือ ความสามารถในการริเริ่มคิดสิ่งใหม่ ๆ และลงมือทำด้วยตัวเอง กล้าคิดกล้าทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
2) วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
คือ การวางแผนจัดการตนเองอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่วางเป้าหมาย มองเห็นภาพรวม รู้จักจัดลำดับความสำคัญ วางขั้นตอนดำเนินการ และประเมินผล
3) มุ่งเป้าหมาย
คือ การวางเป้าหมายที่ชัดเจน มีความเพียรและมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมาย รู้จักฝ่าฟันอุปสรรค หากล้มต้องรู้จักลุกขึ้นมาต่อสู้ใหม่ได้
ทักษะกำกับตัวเอง
สมอง EF ไม่ได้เกิดจากการนั่งเรียนหนังสือ แต่เกิดจากการเล่นและการทำงาน ซึ่งทำให้เด็กพบสถานการณ์ท้าทายที่ต้องการการวางแผนซับซ้อน หรือสถานการณ์ที่ท้าทายให้คิดวิเคราะห์
การเล่นเพื่อส่งเสริมทักษะ EF จึงเป็นส่วนสำคัญสำหรับหลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียน
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
---|---|---|---|---|---|
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |